Skip to main content

แนะนำ Variable / Data Type

รู้จักกับ Variable และ Data Type

Variable (ตัวแปร) และ Data Type (ประเภทข้อมูล) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนต้องเข้าใจเมื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python หรือภาษาการเขียนโปรแกรมใด ๆ โดยตัวแปรและประเภทข้อมูลจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลในโปรแกรมของเรา

Variable (ตัวแปร) คืออะไร

ตัวแปรใน Python คือชื่อที่ใช้เก็บค่าหรือข้อมูลต่าง ๆ เราสามารถตั้งชื่อตัวแปรใด ๆ ก็ได้ตามต้องการ (ตามกฎของการตั้งชื่อ) และค่าที่เก็บในตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ตัวอย่างของการประกาศตัวแปร:

x = 10
name = "Bas"
is_active = True

ในตัวอย่างข้างต้น:

  • x คือ ตัวแปรที่เก็บค่าจำนวนเต็ม 10
  • name คือ ตัวแปรที่เก็บค่าข้อความ (string) "Bas"
  • is_active คือ ตัวแปรที่เก็บค่าบูลีน (boolean) True

ok เรารู้จักตัวแปรและ เรามารู้จักกับ Data Type (ชนิดของข้อมูล) กันต่อ

Data Type (ชนิดของข้อมูล)

ชนิดของข้อมูล หมายถึงประเภทของข้อมูลที่ตัวแปรสามารถเก็บได้ ใน Python มีชนิดของข้อมูลที่หลากหลาย และสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้:

  1. Numbers (ตัวเลข)
  • Integer (int): ตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 10, -3
  • Float: ตัวเลขทศนิยม เช่น 3.14, -0.5
  • Complex: ตัวเลขเชิงซ้อน เช่น 1 + 2j

ตัวอย่าง

age = 25         # Integer
pi = 3.14159 # Float
complex_num = 1 + 2j # Complex
  1. String (ข้อความ)
  • ข้อมูลที่เป็นข้อความหรืออักขระ เช่น "Hello, World!", "Python"

ตัวอย่าง

message = "Hello, Python!"
  1. Boolean (ค่าตรรกะ)
  • มีค่าได้สองค่าเท่านั้น คือ True หรือ False

ตัวอย่าง

is_open = True
is_closed = False
  1. List (รายการ)
  • เก็บข้อมูลหลายตัวในตัวแปรเดียว ข้อมูลใน List สามารถเป็นชนิดใดก็ได้และสามารถซ้ำกันได้

ตัวอย่าง

fruits = ["apple", "banana", "cherry"]
numbers = [1, 2, 3, 4, 5]
  1. Tuple
  • คล้ายกับ List แต่ข้อมูลที่เก็บใน Tuple จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลังจากที่สร้างแล้ว

ตัวอย่าง

coordinates = (10.0, 20.0)
  1. Dictionary
  • เก็บข้อมูลในรูปแบบของคู่ key และ value ( key: value)
person = {"name": "Bas", "age": 25, "city": "Bangkok"}
  1. Set
  • เก็บข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน และไม่มีลำดับ

ตัวอย่าง

unique_numbers = {1, 2, 3, 4, 5}

** สำหรับ List, Tuple, Dictionary, Set เราจะมาขยี้เพิ่มกันในภายหลังในหัวข้อ Data Structure กัน
ต่อมา เราจะเริ่มรู้จัก Operation (การจัดการตัวแปรกัน)

Operation

ใน Python การดำเนินการ (operation) มีหลายประเภท ซึ่งรวมถึง Arithmetic (เลขคณิต), Logical (ตรรกะ), และ Comparison (การเปรียบเทียบ) การดำเนินการเหล่านี้ใช้เพื่อคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลในโปรแกรม มาดูกันทีละประเภทกัน

1. Arithmetic Operations (การดำเนินการทางเลขคณิต)

การดำเนินการทางเลขคณิตใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าที่เหลือ หรือการยกกำลัง

OperatorDescriptionExampleResult
+Addition (บวก)x + yผลรวมของ x และ y
-Subtraction (ลบ)x - yผลต่างของ x และ y
*Multiplication (คูณ)x * yผลคูณของ x และ y
/Division (หาร)x / yผลหารของ x และ y
%Modulus (หารเอาเศษ)x % yเศษของ x หาร y
**Exponentiation (ยกกำลัง)x ** yx ยกกำลัง y
//Floor Division (หารเอาส่วนปัดเศษทิ้ง)x // yผลหารของ x หาร y โดยปัดเศษทิ้ง

ตัวอย่าง code

x = 10
y = 3

print(x + y) # ผลลัพธ์คือ 13
print(x - y) # ผลลัพธ์คือ 7
print(x * y) # ผลลัพธ์คือ 30
print(x / y) # ผลลัพธ์คือ 3.3333...
print(x % y) # ผลลัพธ์คือ 1
print(x ** y) # ผลลัพธ์คือ 1000
print(x // y) # ผลลัพธ์คือ 3

รวมถึง Operator สามารถใช้งานกับตัวแปรประเภท String ได้ (String Operator) โดยสามารถใช้กับการบวก (+) และการคูณ (*) ได้

# การบวก string
str1 = "Hello"
str2 = "World"
result_str_add = str1 + " " + str2 # ผลลัพธ์คือ "Hello World"

# การคูณ string (การทำซ้ำ)
result_str_mul = str1 * 3 # ผลลัพธ์คือ "HelloHelloHello"

รวมถึง ใน Python เราสามารถใช้ Arithmetic Operators กับ List ได้ แต่จะมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจาก List ไม่ได้รองรับการใช้ Arithmetic Operators ทุกตัว เช่น การบวก และการคูณ แต่ไม่สามารถใช้การลบ หรือการหารกับ List ได้โดยตรง

ตัวอย่างเช่น code นี้

# ตัวอย่างการบวก List
list1 = [1, 2, 3]
list2 = [4, 5, 6]

result_add = list1 + list2 # ผลลัพธ์คือ [1, 2, 3, 4, 5, 6]

# ตัวอย่างการคูณ List
list1 = [1, 2, 3]

result_mul = list1 * 3 # ผลลัพธ์คือ [1, 2, 3, 1, 2, 3, 1, 2, 3]

2. Logical Operations (การดำเนินการทางตรรกะ)

การดำเนินการทางตรรกะใช้ในการเปรียบเทียบค่าหรือเงื่อนไข และคืนค่าผลลัพธ์เป็น True หรือ False

OperatorDescriptionExampleResult
andLogical ANDx and yTrue ถ้า x และ y เป็นจริงทั้งคู่
orLogical ORx or yTrue ถ้าอย่างน้อยหนึ่งใน x หรือ y เป็นจริง
notLogical NOTnot xTrue ถ้า x เป็นเท็จ

ตัวอย่าง code

a = True
b = False

print(a and b) # ผลลัพธ์คือ False
print(a or b) # ผลลัพธ์คือ True
print(not a) # ผลลัพธ์คือ False

3. Comparison Operations (การดำเนินการเปรียบเทียบ)

การดำเนินการเปรียบเทียบใช้ในการเปรียบเทียบค่าระหว่างตัวแปรสองตัว และคืนค่าผลลัพธ์เป็น True หรือ False

OperatorDescriptionExampleResult
==Equal (เท่ากัน)x == yTrue ถ้า x เท่ากับ y
!=Not Equal (ไม่เท่ากัน)x != yTrue ถ้า x ไม่เท่ากับ y
>Greater Than (มากกว่า)x > yTrue ถ้า x มากกว่า y
<Less Than (น้อยกว่า)x < yTrue ถ้า x น้อยกว่า y
>=Greater Than or Equal To (มากกว่าหรือเท่ากับ)x >= yTrue ถ้า x มากกว่าหรือเท่ากับ y
<=Less Than or Equal To (น้อยกว่าหรือเท่ากับ)x <= yTrue ถ้า x น้อยกว่าหรือเท่ากับ y

ตัวอย่าง code

x = 10
y = 5

print(x == y) # ผลลัพธ์คือ False
print(x != y) # ผลลัพธ์คือ True
print(x > y) # ผลลัพธ์คือ True
print(x < y) # ผลลัพธ์คือ False
print(x >= y) # ผลลัพธ์คือ True
print(x <= y) # ผลลัพธ์คือ False

เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจการใช้งานสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เราจะมาแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของ Control Structure กันต่อ